Last updated: 12 ก.ย. 2565 | 1445 จำนวนผู้เข้าชม |
พนักงานหลายคนมักเผชิญสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อถูกขอร้องแกมบังคับในเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของงานที่ตัวเองรับผิดชอบ เช่น แวะซื้อกาแฟตอนเช้าให้หน่อย, ช่วยเอารถไปล้างทีนะ ฯลฯ และบ่อยครั้งที่เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความอึดอัดเราไม่น้อยเลย
แม้ Hob Description จะไม่ได้ระบุสิ่งเหล่านี้เอาไว้ แต่งานเหล่านี้ก็กลายเป็นหมวดหมู่ “อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย” จนทำให้พนักงานอย่างเราไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างเต็มปากเพราะกลัวผลกระทบที่อาจตามมาได้ ดังนั้นเราจะรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้อย่างไรโดยไม่ให้กระทบกับงานและความสัมพันธ์ของหัวหน้า-ลูกน้องได้
"น้ำใจ ไม่ใช่ หน้าที่"
การช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การมีน้ำใจควรมีขอบเขตและไม่ทำให้ตัวเองลำบาก หลาย ๆ สถานการณ์เราอาจช่วยเหลือได้เพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่พอบ่อย ๆ เข้า อีกฝ่ายอาจมองว่าการกระทำเหล่านี้เป็นหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบไม่ใช่แค่น้ำใจ และบางครั้งอาจถึงขั้นให้ช่วยทำธุระส่วนตัวในเวลางานได้ หากคุณไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร ให้ลองคิดว่าการช่วยใครสักคนนั้นเป็นเรื่องของน้ำใจ แต่ไม่ใช่หน้าที่ และการทำในสิ่งที่ถูกต้อง แทนทำสิ่งที่ ถูกใต อาจป้องกันตัวเองได้ดีกว่าในระยะยาว เช่น หากเจ้านายใช้ให้คุณไปทำธุระส่วนตัวในเวลางาน อาจทำให้งานหลักของคุณล่าช้าและกระทบต่อคนอื่น ๆ ได้ หากคุณไม่กล้าที่จะปฏิเสธตรง ๆ อาจพูดไปว่า ขอจัดการงานตรงส่วนนี้ให้ลุล่วงก่อน และจะทำธุระดังกล่าวให้แทน เพราะโดยทั่วไปแล้วหัวหน้าที่มืออาชีพพอจะเข้าใจและปล่อยให้คุณทำงานต่อโดยไม่รบกวน
"หากปฏิเสธไม่ได้จะทำอย่างไร"
เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จะปฏิเสธก็ไม่ได้ จะช่วยก็เสี่ยงโดยเขม่น เป็นสถานการณ์ที่มีแต่เสียกับแทน แทนที่จะช่วยเต็มตัว คุณอาจลองยื่นข้อเสนอกับหัวหน้าว่าจะเป็นธุระติดต่อประสานงานให้ เช่น หากหัวหน้าวานให้คุณไปซื้อของให้ ลองเสนอว่าคุณจะใช้บริการเดลิเวอรี่ เพราะไม่สามารถออกไปข้างนอกเวลางานได้ หรือหากหัวหน้าวานให้คุณไปธนาคาร ลองเสนอว่า คุณจะวานแมสเซนเจอร์ไปทำธุระแทน เป็นต้น
"แค่ทำ ๆ ไป ไม่เป็นไรหรอก จริงเหรอ"
บางคนอาจมองว่าการช่วยเหลือหัวหน้าเท่ากับหัวหน้าให้ความไว้วางใจ แถมการได้ออกไปข้างนอกเวลางานก็จะได้มีโอกาสแวบไปพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง แทนการเอาแต่นั่งอยู่ในออฟฟิศ ส่วนหนึ่งก็อาจจะจริง แต่ก็เป็นไปได้ว่าหัวหน้าอาจไม่เห็นความสามารถที่แท้จริงตามตำแหน่งของคุณก็ได้ เพราะการที่คุณเลือกจะทำทุกอย่างที่ไม่ใช่เรื่องงาน อาจเพราะหัวหน้ามองว่าคุณเป็นเพียงผู้ช่วยส่วนตัว ไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรกับทีมหรือองค์กร ดังนั้นการช่วยเหลือหัวหน้าอาจส่งผลเชิงลบมากกว่าผลดีซะอีก เพราะการพิจารณาตำแหน่งไม่ได้มาจากการไว้วานให้ไปทำอะไรต่าง ๆ แต่มาจากผลงานที่เด่นชัดนั่นเอง
"เมื่อรู้สึกว่าถูกข้ามเส้นจนใจเย็นไม่ไหว"
บางครั้งคำขอที่มากเกินไป ก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่ได้รับความยุติธรรมได้ และในบางครั้งอาจเป็นคำขอที่ผิดกฎหมาย หรือกฎของบริษัท เช่น ปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ พนักงานต้องกล้าที่จะปฏิเสธและขีดเส้นแบ่งเรื่องงานกับธุระส่วนตัวของหัวหน้าให้ชัดเจน
หากการปฏิเสธอย่างสุภาพไม่ได้ผล อาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้บริหารในระดับที่สูงกว่าหรือแจ้งฝ่ายบุคคลให้ทราบ
หากพึ่งพาใครในองค์กรไม่ได้เลย ก็อาจจะต้องถามตัวเองแล้วว่า หรือเพราะปัญหาอาจไม่ได้มาจากตัวเองแต่มาจากองค์กรที่เราอยู่หรือเปล่า และเราจะเติบโตในองค์กรแบบนี้จริงหรือ ?
จริง ๆ การปฏิเสธหัวหน้างานในทางทฤษฎีแล้วถือเป็นเรื่องง่าย แต่ด้วยสังคมไทยที่ให้ความสำคัญในเรื่องความอาวุโส เรื่องง่าย ๆ จึงอาจกลายเป็นเรื่องยากได้ เพราะพนักงานผู้น้อยส่วนมากรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอำนาจ หากปฏิเสธหัวหน้าก็อาจเป็นการตัดอนาคตการเติบโตในหน้าที่การงานของตัวเองได้ แต่การอดทนทำสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าไม่ถูกต้องและบั่นทอนจิตใจทุก ๆ วัน คุณคิดวุ่ณจะเติบโตในองค์กรที่เป็นแบบนี้ได้หรือไม่?
13 มี.ค. 2566
13 มี.ค. 2566
13 มี.ค. 2566
13 มี.ค. 2566